เรื่องควรรู้ก่อนปั่นจักรยานเสือหมอบ ตอนที่ 1

RoadBikeBuyingGuide-ContentDepth-680px453px

ต้องบอกเลยว่ากระแสการปั่นจักรยานสมัยนี้แรงมากทีเดียวครับ ผมเชื่อว่าใครหลายๆคนคงอยากหันมาลองปั่นดูบ้าง แต่อาจไม่รู้ว่าจะไปเริ่มจากตรงไหน จะซื้อจักรยานแบบไหน ยี่ห้อไหนดี รุ่นไหนดี ควรซื้ออุปกรณ์อะไรก่อน นี้คงเป็นคำถามยอดฮิตเลยก็ว่าได้ ต้องบอกก่อนนะครับว่าผู้เขียนไม่ได้เป็นกูรูขั้นเทพแฟนพันธ์แท้จักรยานขนาดนั้น แต่ชอบและหลงไหลการปั่นและส่วนตัวก็ปั่นอยู่แล้ว จึงขอมาเล่าสู่กันฟังล่ะกันครับ แต่ก่อนอื่นมาดูกันก่อนคับว่าจักรยานเสือหมอบ (Road Bike) มีกี่แบบกันบ้าง

วิธีเลือกซื้อจักรยานเสือหมอบสำหรับผู้เริ่มต้น

องค์ประกอบหลักในการเลือกซื้อก็จะมี ตัวเฟรม ล้อ และชุดเกียร์ แต่สำหรับบทความนี้ผมจะว่าด้วยเรื่องตัวเฟรมหรือตัวรถทั้งคันเป็นหลักเพราะส่วนใหญ่แล้วสำหรับคนทั่วไปที่เพิ่งเริ่มปั่น เราไม่ค่อยคิดจะซื้อจักรยานมาประกอบเองที่ล่ะชิ้น แต่จะซื้อแบบสำเหร็จทั้งคัน (Complete Bike) คือซื้อมาปั่นได้ทันทีเลย

ประเภทของจักรยานเสือหมอบ

CANCAAD12_02

All Around คือเสือหมอบที่ใช้งานทั่วไป นิยมใช้กันมาก เหมาะสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นครับ เพราะขับขี่ง่ายสบาย ราคาเริ่มต้นไม่แพง

2016_worldtour_bikes_10_670

Racing & Performance คือจักรยาน ที่ออกแบบมาสำหรับการแข่งขันโดยเฉพาะ จะเน้นประสิทธิภาพสูงสุดเป็นหลัก ไม่เน้นความสบาย องศาตัวจะก้มต่ำกว่ากลุ่มปกติ ตัวเฟรมมักใช่วัสดุน้ำหนักเบาเช่นคาร์บอนไฟเบอร์

vnbikelab-660x440

Endurance คือจักรยาน ที่ดีไซน์ให้ใช้กับถนนที่ไม่เรียบ ขรุขระ สามารถซับแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี ทำให้ขี่แล้วนุ่มนวลมากยิ่งขึ้นกว่าเสือหมอบทั่วไป  แต่ข้อเสียคือพุ่งน้อยกว่าเสือหมอบประเภทอื่น

40

Cyclocross คือจักรยานที่ถูกออกแบบมาให้ขี่ลุยทางขรุขระ ถนนลูกรัง ถนนหินได้ดี แต่ไมถึงกับลุยแบบเสือภูเขา สิ่งที่ทำให้แต่งต่างจากจักรยานแบบ Endurance น่าจะเป็นล้อ ซึ่งจะใช้ยาง 700c ที่มีใหญ่มีดอกเหมือนเสือภูเขา และนิยนใช้ดิสเบรค โดยรวมแล้วมันคือเสือหมอบที่ลุยทางขรุขระได้ เหมาะสำหรับขาลุยทั้งหลาย

winter-cycles-pei-touring-bike

Touring หรือจักรยานท่องเที่ยว ชื่อก็บอกอยู่แล้วนะครับว่าใช่สำหรัลขับขี่ท่องเที่ยว ขับขี่ทางไกล จักรยานจึงออกแบบมาให้มีความแข็งแรงทนทาน สามารถแบกกระเป๋าสัมภาระบนตัวรถได้ ขับขี่สะบาย จะสังเกตได้ว่า ตัวเฟรมนั้นจะดูเรียบง่าย ธรรมดาๆ

1fcdde012ebeafcaf570f0d9d190f984

Aero คือจักรยานที่ได้รับการออกแบบมาให้เพรียวลมและแหวกอากาศได้ดี ตามชื่อครับคือ Aerodynamic เมาะกับการขับขี่ระยะทางเรียบไกลๆ จะได้เปรียบมาก แต่ก็สามารถขับขี่ได้ในชีวิตประจำวันได้ ข้อเสียคือจักรยานแบบนี้จะแข็งกระด้างพอสมควร

112760-largest_15bike

Triathlon & Time Trial คือจักรยานที่ออกแบบมาเฉพาะให้ใช้กับการแข่งขัน ไตรกีฬา และ จับเวลาแบบ Time Trial จริงๆมันมีข้อแตกต่างอยู่บ้าง แต่ผมขอจับให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันครับ เพราะมันแทบจะเหมือนกันเลย อยู่ที่การเซ็ตอัพตอนแข่งขันครับ จุดแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือแบบไตรกีฬาจะขับขี่สบายกว่า เพราะนักไตรกีฬานั้นจะต้องทั้งว่ายน้ำ ปั่นจักรยานแล้วต้องไปวิ่งต่ออีก ผู้ออกแบบจึงออกแบบให้นักกีฬาปั่นได้แบบออกแรงให้น้อยที่สุด แต่เอาเป็นว่ามันใช่สำหรับแข่งขันที่เฉพาะทางมากๆ ด้วยหน้าตาที่ดูอวกาศไม่ต้องสงสัยเลยครับว่า พุ่งไปได้เร็วแน่นอน

TARMACSL5

วัสดุที่ใช้ทำเฟรม

จะสังเกตได้ว่าสิ่งหลักๆที่ทำให้จักรยานเสือหมอบแต่ละประเภทแต่งกันนั้นดูได้จากเฟรมเป็นหลักเลย เรายังแบ่งชนิดของเฟรมออกไปอีกตามวัสดุที่ใช้กันหลักๆในตลาดการผลิตจักรยานดังนี้

willy-tan-pink-tourer-1-625x417

เหล็ก (Steel) คุณสมบัติ แข็งแรงทนทาน ราคาถูก แต่มีน้ำหนักมาก และเป็นสนิม การบำรุงรักษายาก แข็งกระด้าง ส่วนมากจะใช้ในจักรยานแบบ touring หรือ พวก Vintage

e795aded1644d27baa1e86b36840e0a2

โครโมลี่ (Chromoly) เฟรมชนิดนี้มีน้ำหนักเบาขึ้นกว่าเหล็กเล็กน้อย มีความทนทาน ดูดซับการสั่นสะเทือนได้ดี การบำรุงรักษาง่ายขึ้น แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม

1410751956-roubaix13c-o

อลูมินั่ม (Aluminum) หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกัน “เฟรมอลู” เฟรมชนิดนี้เป็นที่นิยนมโดยทั่วไป ด้วยความที่มีน้ำหนักเบา แข็งแรงทนทาน และที่สำคัญราคาไม่แพง

firefly

ไทเทเนี่ยม (Titanium) มีข้อดีคือ เบากว่าอลูมินั่ม ซับแรงกระแทกได้ดี ทนทาน ไม่เป็นสนิม ข้อเสียอย่างเดียวคือมีราคาแพง เพราะเชื่อมยาก ผลิตยาก ส่วนใหญ่จักรยานเฟรมแบบนี้จะไม่ทำสี จะเคลือบแล๊คเกอร์ไว้เฉยๆ เพื่อโชว์สีของโลหะไทเทเนียม

1403105420096-a0yfe5abzdbs-700-80

คาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber) ได้รับความนิยมสำหรับจักรยานรุ่นท๊อปๆ เพราะมีคุณสมบัติที่ เบาที่สุดในบรรดาวัสดุที่ได้กว่าวมา นุ่ม ซับแรงได้ดี Stiff สามารถขึ้นรูปโดยที่ตัวแฟรมไม่มีข้อต่อ ข้อเสียคือมีราคาที่สูง เพราะกระบวนการในการผลิตที่ซับซ่อน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเส้นใยไฟเบอร์ของผู้ผลิตจักรยานแต่ล่ะยี่ห้อ ซึ่งคุณสมบัติก็แตกต่างกันออกไปตามชนิด และเทคนิคในการสานเส้นใยคาร์บอนของแต่ล่ะผู้ผลิตนั้นๆ อีกหนึ่งข้อเสียส่วนตัวที่ผมเห็น (ท่านอื่นอาจจะไม่คิดเหมือนผมก็ได้) คือถ้าได้รับการกระแทกอย่างหนัก (อย่างหนักจริงๆ) ตัวแฟรมจะแตกได้ จริงอยู่ที่คาร์บอนมีความแข็งแรงสูงมากว่าอลูมินั่มหลายเท่า แต่ไม่มีความเหนียวหรือยืดหยุ่น นั้นก็หมายความว่าถ้าจักรยานของคุณที่หักอาจไม่สามารถซ่อมให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ หรืออาจต้องเสียเงินซื้อคันใหม่ก็เป็นได้ครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นกูรูทั่วโลกก็ยังคงให้คาร์บอนเป็นวัสดุที่ดีที่สุดในการทำเฟรมจักรยานด้วยประการทั้งปวง

ขนาด (Size) ไซส์ของจักรยาน

สิ่งสำคัญที่หลายคนอาจจะลืมหรือมองข้ามไปคือ ขนาดหรือไซส์ของจักรยาน นั้นควรต้องเหมาะสมกับตัวคนปั่น หลายท่าน(รวมถึงผมเอง) เวลาที่ไปร้านจักรยาน คนขายมักถามว่าขี่ไซส์อะไร แล้วเราก็จะงงๆ ไปต่อไม่ถูก (คิดในใจ มันมีไซส์ด้วยเหรอว่ะ!?) ไซส์จักรยานมันก็เหมือนกับไซส์เสื้อหรือรองเท้าครับ ถามว่าถ้าเราไม่สนใจไซส์ใส่ได้มั้ย ปั่นได้มั้ย ตอบเลยว่าได้ แต่ยังไงมันคงไม่เมาะกับตัวเรา ทำให้ปั่นไม่สบายจนหมดสนุกไป เราสามารถวัดได้ด้วยตัวเองง่ายๆคือ วัดจากเป้ากางเกงของเราจนถึงพื้น

1400081200-32052865-o

จากตารางให้ดูที่ช่องด้านซ้าย Inseam แล้วให้เทียบกับ ไซส์ในช่อง Road Bike ครับ

Size Bike

หรือถ้าจะคำนวนแบบคร่าวๆ ก็สามารถดูจากความสูงก็ได้ครับ ตามตารางเลย ผมแนะนำว่าไซส์จักรยานนนั้นไม่ควรเอาที่ใหญ่เกินตัวครับ ถ้าไม่มีไซส์ที่เราต้องการสามารถเลือกที่เล็กกว่าตัวเราดีกว่าครับ ตัวอย่างเช่น ถ้าท่านสูง 175 cm ไซส์จักรยานที่เหมาะน่าจะเป็น 54 cm (ดูจากตารางแรก) ถ้าไม่มีไซส์ เราสามารถใช้ไซส์ 53 cm ได้ แม้ไม่มี 53 เราอาจเลือก 52 ก็ยังได้ แต่ผมไม่ค่อยแนะนำให้ไปเลือกไซส์ 55 หรือ 56 cm ทั้งนี้ทั้งนั้นจักรยานแต่ล่ะยี่ห้อก็อาจจะไม่เหมือนกัน เราควรไปลองนั่งก่อนซื้อจะดีที่สุดครับ

road-bike-39042760-1024x683

บทสรุป

เชื่อว่าหลังจากอ่านบทความนี้ทุกท่านคงได้ไอเดียในการเลือกจักรยานของเรา แต่ถ้ายังมีคำถามอยู่ว่า ยี่ห้อไหนดีล่ะ ผมต้องบอกเลยครับว่ามันไม่มีหรอกครับว่าคันไหนดีที่สุด มันก็เหมือนกันรถยนต์ครับ มีใครกล้าฟันธงว่ายี่ห้อไหนดีที่สุดในโลก ผมว่าคำถามที่ถูกต้องน่าจะเป็น เราชอบจักรยานแบบไหนมากกว่า ควรขึ้นอยู่กับการใช้งานของเราเป็นหลัก แต่อย่างน้อยตอนนี้หลายคนคงรู้แล้วว่าแบบไหนเหมาะกับเราที่สุด ผมเชื่อว่ายี่ห้อจักรยานชั้นนำต่างก็ลงทุนลงแรง มันสมอง วิจัยค้นคว้าเป็นแรมปีกว่าจะมีจักรยานออกมาแต่ละรุ่น จึงเชื่อได้ว่าแต่ล่ะยี่ห้อมีดีไม่แพ้กัน แต่ถ้ายังนึกไม่ออกอีกว่าจะซื้อยี่ห้อไหน ผมแนะนำว่า เริ่มจากที่เราชอบก่อนเลยครับ เชื่อผมเถอะจักรยานได้ใช้มันจนคุณเบื่อหรือเลิกปั่นกันเลย จำไว้ว่ามันจะอยู่กับคุณไปอีกนาน ถ้าซื้อมาแบบจำใจสุดท้ายเราจะไม่ชอบมัน แล้วเราก็จะไม่ปั่นมัน โดยเริ่มต้นจากไปดูรูปตามเวปต่างๆ หรือลอง follow ig นักปั่น(สาวๆ)ต่างๆเพื่อสร้างแรงบันดานใจก็ดี ผมว่าช่วยได้เยอะครับ สุดท้ายขึ้นอยู่กับเงินในกระเป๋าของแต่ละคนล่ะคับ จักรยานที่เราชอบหรือที่สวยๆ ส่วนใหญ่อาจจะแพงกว่างบที่เราตั้งไปบ้าง (555 ชีวิตจริงเลยครับ) เราอาจเพิ่มทุนอีกนิดเพื่อให้ได้ในสิ่งที่เราชอบจริงๆ จำไว้มันจะอยู่กับเราไปอีกนาน ถ้ายังไม่เบื่อกันบอกเลยว่าจะแพงแค่ไหน ยังไงก็คุ้มค่าครับผม อย่างน้อยๆได้สุขภาพที่ดีขึ้นแน่นอน สรุปนะครับว่า

  1. การใช้งานเป็นหลัก (ทำไมเราจึงเห็นนักปั่นหลายคนมีจักรยานหลายคัน เพราะมันใช้งานต่างกัน)
  2. ยี่ห้อและรุ่นที่ชอบ (ไม่ต้องมีเหตุผล เอาที่ชอบจริงๆ)
  3. งบประมาณ
  4. ไซส์ของจักรยาน (บางรุ่นหรือยี่ห้อต่อให้ชอบให้ตายแต่ไม่มีไซส์ที่เราขี่ก็จบครับ)

ส่วนในบทความต่อไป ผมจะพูดถึงว่าควรซื้ออุปกรณ์อะไรก่อนในการเริ่มปั่น ยังไงติดตามตอนต่อไปนะครับ ขอให้สนุกกับกานปั่นและขับขี่ปลอดภัยนะครับ